แอร์น้ำแข็งเกาะ
ปัญหาแอร์จับตัวเป็นน้ำแข็ง แก้ไขอย่างไร
สาเหตุที่ แอร์จับตัวเป็นน้ำแข็ง
1. แอร์ตัน รังผึ้งตัน
มีฝุ่นและสิ่งสกปรก เข้าไปปิดบังการระบายลม ที่รังผึ้งทำความเย็น
2. น้ำยารั่ว น้ำยาซึม ที่คอยล์เย็น
ระบายลม ที่อาจจะมีเสียงน้ำเข็งร่วง ในตัวแอร์
3. Compressor มีกำลังอัดน้อย
เกิดความขัดข้อง หากชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ส่วนใดของแอร์เกิดความขัดข้อง จะทำให้แอร์เป็นน้ำแข็งได้ เช่น แผงกรองอากาศเกิดการอุดตัน หรือแผงคอยล์สกปรก จึงไม่สามารถสร้างความเย็น จนแอร์เป็นน้ำแข็ง หรือเทอร์โมนิเตอร์ไม่ยอมตัด ทำให้คอมเพรสเซอร์แอร์ทำงานตลอดเวลา
4. ใช้งานหนัก
หากมีการใช้งานแอร์หนัก หรือมากเกินไป ขาดการดูแล เช่น ไม่ได้รับการล้างแอร์ ทำความสะอาด หรือการตรวจเช็คในส่วนต่างๆ ก็จะทำให้แอร์เป็นน้ำแข็งได้
5. พัดลมคอยล์เย็นหมุนช้า
พัดลมคอยล์เย็นหมุนช้าลง หรือไม่ยอมหมุน ทำให้ความเย็นไม่ถูกนำออกไป ข้างนอก จึงจับตัวเป็นน้ำแข็ง
ปัญหาที่ตามมาจากแอร์เป็นน้ำแข็ง
1. แอร์เสีย
ถ้าปล่อยให้เกิดอาการน้ำแข็งเกาะนาน โดยไม่แก้ไข จะทำให้ ระบบการทำงานของแอร์เสียหาย รวมไปถึงอุปกรณ์ ชิ้นส่วนต่างๆ เกิดการเสื่อมสภาพ และทำให้แอร์เสียหายในท้ายที่สุด
2. แอร์ไม่เย็น
เป็นเรื่องปกติถ้าเกิดปัญหาน้ำแข็งเกาะ เพราะไปอุดตันแผงคอยล์เย็น หรือแผงรังผึ้งทำให้ แอร์ไม่มีการระบายความเย็น หรือลมเย็นออกมาได้ ทำให้แอร์เย็นช้ากว่าปกติ
3. ค่าไฟเพิ่มขึ้น
4. แอร์น้ำหยด
เมื่อเกิดปัญหาน้ำแอร์เกาะนานๆ ทำให้แอร์อุดตันบนหน้าแผงรังผึ้ง ปัญหาต่อมาคือน้ำแอร์จะเกิดการรั่วซึมและจะหยดออกจากท่อแอร์หรือตัวแผงคอยล์เย็น ที่ลูกค้าส่วนใหญ่พบเจอคือปัญหาน้ำแอร์หยดนั้นเอง
5. แอร์เหม็นอับ
แก้ปัญหา แอร์เหม็นอับเมื่อแอร์อุดตันจากน้ำแข็งเกาะนานๆ รวมไปถึงสิ่งสกปรก ที่เกาะอยู่ตามแผงคอยล์เย็น หรือด้านในกรงกระรอก และไม่มีการทำความสะอาดให้ทั่วถึง ทั้งด้านในและด้านนอก อาจก่อให้เกิดการสะสมของคราบน้ำ สิ่งสกปรก ที่ถูกอัดฉีดจากแรงดันน้ำ กระเด็นเข้าด้านใน ทำให้เกิดการสะสมสิ่งสกปรก ส่งผลให้แอร์มีกลิ่นเหม็นเวลาใช้งาน แอร์เหม็นอับ
เพราะการล้างแอร์ทั่วไป อาจไม่เพียงพอ
การแก้ปัญหาแอร์เป็นน้ำแข็ง
1. ขอคำปรึกษากับช่างผู้เชี่ยวชาญ
ขอคำปรึกษาในส่วนของเรื่องการป้องกัน แอร์น้ำแข็งเกาะ การใช้งานในครั้งต่อๆ ควรระมัดระวังในส่วนไหนมากขึ้น และวิธีปฏิบัติเมื่อเจออาการ น้ำแข็งเกาะ เช่นนี้ สามารถติดต่อฝ่าย Support ของทาง OF Air Service ได้ Line : @OFair หรือโทร 02-933-6200
2. ให้ช่างตรวจสอบอุปกรณ์ภายในทุกจุด เพื่อป้องกันการชำรุด อาจก่อให้เกิดความเสียหายในภายหลัง
2.1 ช่างจะทำการตรวจสอบด้านในแผงรังผึ้ง รวมถึงด้านนอกแผงเพื่อหาจุดรอยรั่ว รอยชำรุด ที่อาจส่งผลให้น้ำยารั่วซึม นำไปสู่ปัญหาแอร์น้ำแข็งเกาะได้
2.2 ช่างตรวจสอบท่อเดินน้ำยาแอร์ว่ามีการขาดหรือรั่วซึมหรือไม่
2.3 ช่างทำการตรวจสอบ Compressor แอร์ด้านนอก ว่ามีจุดที่ชำรุด หรือรอยรั่วที่ Compressor หรือไม่
3. ล้างแอร์ใหญ่ หรือตัดล้าง
นอกจากการล้างแอร์ แบบทั่วไป หรือล้างเล็ก เพื่อให้แอร์เย็น และประหยัดค่าไฟฟ้า ที่ควรจะทำทุก 3-6เดือน แล้ว
เราควรจะ เพื่อสุขภาพอนามัยที่ดี เราควรจะล้างใหญ่ เพื่อจัดการกับ คราบสิ่งสกปรก เชื้อโรค เชื้อรา ที่การล้างทั่วไป เข้าไม่ถึงออกไป แบบเป็นพิเศษบ้าง โดยมีความถี่อยู่ที่
1. ป้องกัน พื้นและเฟอร์นิเจอร์
1.1 ปูพื้น ด้วยผ้าร่มกันน้ำ และผ้าห่มกันรอย จากบันได เพื่อป้องกัน พื้นห้อง จากรอยขีดข่วน
1.2 คลุมแอร์ ด้วยผ้าใบล้างแอร์ เพื่อป้องกัน เฟอร์นิเจอร์ และกำแพง จากสิ่งสกปรก
2. ถอดชุดคอยล์เย็น (ด้านในอาคาร) เพื่อแยกชิ้นส่วน
2.1 เก็บล็อคน้ำยาแอร์
2.2 ถอดชุดคอยล์เย็น(ด้านในอาคาร) แยกออกจากคอยล์ร้อน(ด้านนอกอาคาร)
2.3 แยกชิ้นส่วนแอร์ทั้งหมด ออกจากกัน
3. ทำความสะอาด แผงรังผึ้ง
3.1 ฉีดล้างแผงรังผึ้งด้วยน้ำเปล่า จากทั้งข้างหน้าและข้างหลัง เพื่อเอาสิ่งสกปรกออก
3.2 แช่แผงรังผึ้ง ด้วยน้ำยากัดแผงรังผึ้ง เพื่อกัดเอาสิ่งสกปรกพี่ฝังแน่น ให้หลุดออก แล้วฉีดล้างออก ด้วยน้ำเปล่า
3.3 แช่แผงรังผึ้ง ด้วยน้ำยากัดแผงรังผึ้ง แล้วฉีกน้ำล้างออก อีกครั้งเผื่อความมั่นใจ
4. ทำความสะอาด พัดลมและรางระบายน้ำ
4.1 ฉีดล้าง ทำความสะอาด พัดลมแอร์
4.2 ฉีดล้าง ทำความสะอาด รางระบายทั้งข้างหน้้าและข้างหลัง
4.3 เช็ดถู ให้มั่นใจ ว่าไม่มีสิ่งสกปรกติดอยู่
5. ติดตั้งแอร์กลับเข้าที่เดิม
5.1 ประกอบส่วน คอยเย็นและร้อน เข้าด้วยกันใหม่
5.2 ตรวจเช็ค การทำงานของแอร์ อีกครั้งเผื่อความมั่นใจ
6. เก็บกวาด ให้เรียร้อย
6.1 เก็บกวาด อะไหล่ เศษวัสดุ ฝุ่นผง จากการทำงาน ทั้งภายในอาคาร และนอกอาคาร
6.2 เลื่อน เฟอร์นิเจอร์ ตู้ โต๊ะ กลับเข้าตำแหน่งเดิม เพื่อให้สภาพหน้างาน กลับมาเหมือน ก่อนการทำงาน ทุกประการ
สรุป : ข้อควรระวัง และวิธีการแก้ปัญหาแอร์น้ำแข็งเกาะ