Category Archives: สาระความรู้
ทำไมต้อง
ล้างแอร์ 6 เดือน
**ทำไมต้องล้างแอร์ทุกๆ 6 เดือน
ประโยชน์ทางสุขภาพและความปลอดภัยของการล้างแอร์**
ข้อดีของการล้างแอร์ทุก 6 เดือน
✅ 1. **ลดความเสี่ยงต่อสุขภาพด้านการหายใจ**
การล้างแอร์เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการลดจำนวนเชื้อโรคและสารสกัดที่สามารถก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้และโรคหายใจได้ ซึ่งเป็นประโยชน์สำคัญสำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพทางการหายใจ
✅ 2. **ป้องกันการเกิดแบคทีเรียและเชื้อรา**
การล้างแอร์เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดแบคทีเรียและเชื้อราที่สามารถสะสมตัวได้ในระบบทำความเย็น ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อสุขภาพของผู้ใช้งาน
✅ 3. **เพิ่มประสิทธิภาพในการทำความเย็น**
การล้างแอร์ทุก ๆ 6 เดือนช่วยให้ระบบทำความเย็นทำงานได้ดีมากขึ้น ไม่มีการบล็อกทางไหลของอากาศด้วยฝุ่นและสารสกัดต่าง ๆ ทำให้ระบบทำความเย็นทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
✅ 4. **ประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่าย**
แอร์ที่ได้รับการล้างทุก ๆ 6 เดือนทำงานได้ลื่นไหลมากขึ้น ทำให้ประหยัดพลังงานและลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงาน
✅ 5. **รักษาความปลอดภัยของระบบ**
การล้างแอร์เป็นสิ่งสำคัญในการรักษาความปลอดภัยของระบบทำความเย็น ป้องกันการเกิดความร้อนเพิ่มขึ้นภายในเครื่องซึ่งอาจเป็นสาเหตุของเหตุการณ์ไฟไหม้
ที่สำคัญปัญหาการจองคิวนานจะหมดไป
เพราะมีการวางแผนล่วงหน้าเรียบร้อยแล้ว
สรุป : ทำไมต้องล้างแอร์ทุก 6 เดือน
ดังนั้น, การล้างแอร์ทุก ๆ 6 เดือนไม่เพียงแต่ช่วยรักษาสุขภาพและความปลอดภัย แต่ยังเป็นการประหยัดพลังงานและลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง ด้วยประโยชน์หลายประการ, การล้างแอร์ควรเป็นกิจกรรมที่ผู้ใช้ทุกคนควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อความปลอดภัยและสุขภาพของทุกคนในบ้าน เพื่อให้แอร์ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่อุดตัน และช่วยประหยักค่าไฟอีกด้วย หรือสามารถล้างใหญ่จะเป็นเรื่องดีมาก ถอดแอร์ ตัดล้าง หรือที่เรียกกันว่า ล้างใหญ่ คือการถอดแอร์ ออกมาทำความสะอาดทุกชิ้นส่วนนั่นเอง
OF Air เราจึงมีช่างผู้เชี่ยวชาญ คอยให้บริการ ล้างแอร์ ถอดแอร์ ติดตั้งแอร์ และโยกย้าย แบบครบวงจร
เลี้ยงสัตว์ในห้องแอร์
เลี้ยงน้องหมาแมวในห้องแอร์ควรระวังอย่างไร ?
เลี้ยงสัตว์ในห้องแอร์ ควรทำอย่างไร ?
อากาศในประเทศไทยร้อน นอกจากคนที่รู้สึกร้อนแล้วสัตว์ก็ร้อนมากๆ ไม่ต่างกัน ดังนั้น สิ่งที่คนเลี้ยงน้องหมาน้องแมวควรระมัดระวังในช่วงที่อากาศร้อนจัดคือ การป้องกันอาการ ฮีทสโตรก โดยเฉพาะพันธุ์ที่ขนยาว หรือมีขนสองชั้นก็ ควรจัดพื้นที่ ที่มีอากาศถ่ายเท ไม่ร้อนอบอ้าว หรือเปิดเครื่องปรับอากาศในช่วงที่อากาศร้อนมากๆ แต่สำหรับใครที่อยากลดค่าใช้จ่าย ประหยัดไฟบ้าน
OFAir มี วิธีลดค่าไฟมาฝากกัน
✅ 1. เปิดอุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส
✅ 2. ตั้งเวลาเปิด-ปิดเครื่องปรับอากาศเป็นเวลา
✅ 3. ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ที่ไม่ใช้
✅ 4. ลดความร้อนสะสมภายในห้อง
4.1. การติดตั้งฉนวนความร้อน
4.2. การใช้ผ้าม่านกันความร้อน
4.3. ติดตั้งฟิล์มกรองแสงอาคาร
✅ 5. ติดตั้งโซลาร์เซลล์สำหรับใช้ในบ้าน
ข้อควรระวังอย่างแรก : อุณหภูมิ
บ้านหรือคอนโดที่ เลี้ยงสัตว์ในห้องแอร์ ควรเปิดแอร์ที่อุณหภูมิ 24-27 องศาเซลเซียส ขึ้นอยู่กับขนาดห้อง และลักษณะทางสายพันธุ์ของน้องหมา ถ้าเป็นหมาที่มีขนเยอะขนหนา เป็นหมาเมืองหนาวต้องเปิดแอร์อุณหภูมิต่ำกว่านั้น
แต่หากเป็นน้องหมาที่มีขนชั้นเดียว และไม่ชอบอากาศเย็น ขี้หนาว ซึ่งยิ่งสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็ก น้องจะทนกับความหนาวได้ไม่ดี หากเลี้ยงน้องในห้องแอร์จึงควรใส่เสื้อให้น้องรู้สึกอบอุ่น และให้คอยสังเกตการของน้อง โดยดูจากท่านอนของน้องหมา ดังนี้
❎ น้องนอนขดตัวมาก พยายามซุกตัวเก็บเท้าขดตัว แปลว่า น้องกำลังหนาวมากเกินไป ควรเพิ่มอุณหภูมิหรือห่มผ้าให้อบอุ่นมากยิ่งขึ้น
✅ ถ้าท่านอนเป็นแบบปกติสบายๆ นอนไม่ขดตัวมาก หรือ นอนหงาย แปลว่า อุณหภูมิกำลังดีแล้ว
ข้อควรระวังที่ 2 : มุมนอนพักผ่อนที่เหมาะสม
ทำเลในห้องก็สำคัญเช่นกัน มุมที่ดี คือมุมที่แอร์ไม่ได้ลงตรงๆ หากแอร์เป่าลมบริเวณที่น้องนอนตรงๆทั้งคืนอาจทำให้หนาวเกินไปและทให้น้องไม่สบายได้
ข้อควรระวังที่ 3 : กลิ่นอับ
เนื่องจากห้องแอร์เป็นห้องปิด ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือคอนโด เจ้าของควรเปิดระบายอากาศเป็นประจำ หมั่นทำความสะอาดดูดฝุ่นและขนที่หล่นในห้อง คอยซักชุดเครื่องนอนทั้งของตัวเองและของน้องหมา อาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง
สิ่งสำคัญคือเครื่องปรับอากาศ ที่ดูดทั้งกลิ่น ทั้งฝุ่น รวมถึงขนของน้องๆ เข้าไป เราควรหมั่นล้างแอร์บ่อยขึ้น จากห้องปกติ 6 เดือนต่อครั้งเป็น 3 เดือนต่อครั้ง เพื่อรักษาการทำงานของตัวแอร์ให้มีอายุหารใช้งานที่ยาวนานขึ้น และช่วยประหยัดไฟมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้ เจ้าของและน้องหมาได้สูดอากาศที่ดีอย่างต่อเนื่องอีก
#OFAir #ล้างแอร์ #แอร์เหม็นอับ
🐶 เพราะสุขภาพน้องหมาสำคัญที่สุด 🐶
สรุป : เลี้ยงสัตว์ในห้องแอร์ ควรระวังอย่างไร ?
การเลี้ยงสัตว์ในห้อง ผู้เลี้ยงต้องพบเจอกับสิ่งสกปกที่เกิดจากน้องๆ เช่นไรฝุ่น, ขนร่วง, รวมถึงกลิ่นน้องๆที่ส่งผลต่อบรรยากาศภายในห้อง เพราะฉนั้นผู้เลี้ยงควรเตรียมความพร้อม และศึกษาการเลี้ยงดูที่เหมาะสม รวมถึงการดูแลรักษาเครื่องใช้ำฟฟ้าภายในบ้าน โดยเฉพาะ เครื่องปรับอากาศ ควรทำความสะอาดอย่างน้อย 3 เดือนต่อครั้ง เพื่อให้แอร์ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่อุดตัน และช่วยประหยักค่าไฟอีกด้วย หรือสามารถล้างใหญ่จะเป็นเรื่องดีมาก ถอดแอร์ ตัดล้าง หรือที่เรียกกันว่า ล้างใหญ่ คือการถอดแอร์ ออกมาทำความสะอาดทุกชิ้นส่วนนั่นเอง
OF Air เราจึงมีช่างผู้เชี่ยวชาญ คอยให้บริการ ล้างแอร์ ถอดแอร์ ติดตั้งแอร์ และโยกย้าย แบบครบวงจร
คอยล์ร้อน กับ คอยล์เย็น
ทำงานต่างกันอย่างไร
CONDENSER หรือ คอยล์ร้อน คือ
คอยล์ร้อน หรือ คอนเดนเซอร์ ยูนิต มีหน้าที่ระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น ขณะที่เครื่องปรับอากาศทำงาน และดันความเย็นเข้าไปแทนที่ความร้อน ซึ่งเจ้าคอยล์ร้อนนี้ ก็อยู่ในคอมเพรสเซอร์แอร์ที่อยู่นอกบ้านเรานั่นเอง
รูปแบบการทำงาน ของ คอยล์ร้อน
คอยล์ร้อน มีหน้าที่การระบายความร้อน ซึ่งสามารถแบ่งได้ 3 ระบบ ดังนี้
- คือ การใช้อากาศเป็นตัวกลางในการระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น เพื่อให้สารทำความเย็นที่สถานะเป็นไอกลั่นตัวเป็นสถานะของเหลวอีกครั้
- คือ การระบายความร้อนโดยให้น้ำเป็นตัวกลางในการลดความร้อนจากคอยล์ร้อน โดยทั่วไปนิยมใช้การระบายความร้อนด้วยน้ำในระบบทำความเย็นขนาดใหญ่ หรือ เครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ เป็นต้น
- คือ อากาศจะถูกดูดเข้าไปยังส่วนล่างของเครื่อง ผ่านสัมผัสกับคอยล์คอนเดนเซอร์ จากนั้นอากาศจะไหลผ่านทะลุออกทางด้านบนของเครื่อง ในระหว่างนั้นปั๊มน้ำจะดูดเอาน้ำจากถังพักส่วนล่างขึ้นไปฉีดสเปรย์ให้เป็นฝอย เพื่อรับความร้อนจากคอยล์ร้อนที่หมุนเวียนอย่างต่อเนื่อง
คอยล์เย็น หรือ EVAPORATOR
คอยล์เย็น ก็คือ เครื่องปรับอากาศที่อยู่ในบ้าน ทำหน้าที่ดูดความร้อนออกจากห้อง และส่งความเย็นที่มาจากสารทำความเย็นในคอยล์ร้อนไปแทน เพื่อทำให้ห้องเราเย็นสบาย
คอยล์เย็น หรือ (Fan coil unit) เป็นหนึ่งในอุปกรณ์หลักของระบบทำความเย็นที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะทำหน้าที่ดูดซับความร้อนจากภายในห้อง โดยมีมอเตอร์พัดลมเป็นตัวดูดความร้อนเข้ามาผ่านช่องที่เรียกว่า RetrunAir ที่มีฟิลเตอร์เป็นตัวกรองฝุ่น เมื่อความร้อนที่ถูกดูดเข้ามานั้นสัมผัสกับคอยล์เย็นที่ทำหน้าที่ควบคู่ไปกับสารทำความเย็น (น้ำยาแอร์) จึงทำให้เกิดการระเหย หรือเกิดการถ่ายเทความเย็นออกมานั่นเอง
คอยล์เย็น มีส่วนประกอบย่อยต่างๆ ที่จำเป็นต้องดูแลรักษา และทำความสะอาด ดังนี้
- แผงกรองอากาศ
- แผงขดท่อคอยล์เย็น
- ใบพัดลมคอยล์เย็น
- ถาดรองน้ำทิ้งและท่อน้ำทิ้ง
- โครงเครื่อง หน้ากากรับลม และหน้ากากจ่ายลม
สรุป : คอยล์ร้อน กับ คอยล์เย็น ทำงานต่างกันอย่างไร
ทุกชิ้นส่วนสามารถถอดออกมาล้างทำความสะอาดได้ทั้งหมด แต่ควรระมัดระวังเป็นอย่างสูง แนะนำให้ปรึกษาหรือมีเชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำ ในการ ถอดแอร์ ตัดล้าง หรือที่เรียกกันว่า ล้างใหญ่ คือการถอดแอร์ ออกมาทำความสะอาดทุกชิ้นส่วนนั่นเอง
OF Air เราจึงมีช่างผู้เชี่ยวชาญ คอยให้บริการ ล้างแอร์ ถอดแอร์ ติดตั้งแอร์ และโยกย้าย แบบครบวงจร
ประโยชน์ ล้างแอร์
ในหน้าหนาว มีประโยชน์อย่างไร
ประโยชน์ของการล้างแอร์หน้าหนาว
การล้างแอร์ในหน้าหนาวที่จะถึงนี้ดีอย่างไร OF Air Service รวบรวมประโยชน์ของการล้างแอร์ หน้าหนาวมานำเสนอความรู้นี้ถึงคุณลูกค้าและผู้ใช้งาน แอร์ปรับอากาศเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป
โดยปกติแล้วในฤดูหนาว จะมีความชื้นในอากาศมากกว่าปกติ ทำให้เชื้อโรค แบคทีเรีย, รา, ไวรัส (และโควิด-19) สามารถเจริญเติบโตได้ในอุณภูมิที่ต่ำ อาจมีการสะสมของเชื้อโรคมาในระยะหนึ่งแล้ว จึงควรอย่างยิ่งที่จะล้างแอร์สักครั้ง
ซึ่งตัวแอร์มักจะมีความชื้นอยู่แล้ว ลูกค้าบางท่านไม่ได้ล้างแอร์ด้วยวิธีแกะล้าง ตัดล้าง หรือล้างทั้งระบบ บรรดาเศษฝุ่นผง เศษผม เศษขนสัตว์ หรือสิ่งสกปรกต่าง ๆ ถูกดูดเข้าไปรวมตัวกันอยู่ที่แผ่นกรองแอร์ ลึกไปถึงด้านในที่ไม่สามารถใช้เพียงน้ำฉีดพ้น เพื่อชะล้างได้ กลายเป็นจุดสะสมเชื้อโรค ทำให้เกิดการแพร่เชื้อโรคในท้ายที่สุด !!!!
ส่งผลเสียที่ตามมามากมาย
- แอร์เหม็นอับ
- แอร์รั่ว
- แอร์น้ำหยด
- แอร์ไม่เย็น
- แอร์ทำงานเสียงดัง
- แอร์มีน้ำแข็งเกาะ
ข้อดีของการล้างแอร์ในหน้าหนาวคือ
- แก้อาการเหม็นอับ
- ลดความเสี่ยงการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้
- ลดการสะสมของฝุ่น เชื้อโรค เชื้อไวรัส PM 5
- ถึงเวลาตรวจเช็คสภาพแอร์ไปในตัว หลังจากผ่านการใช้งานมาอย่างหนักในช่วงหน้าร้อน
- ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า และยืดอายุการใช้งานของแอร์
- ที่สำคัญ คิวไม่เยอะ ราคาดี โปรโมชั่นดี
ประโยชน์ของการล้างแอร์หน้าหนาว
ที่สำคัญคือ ในภาวะอุณหภูมิต่ำ กรดเกลือที่เกราะอยู่ตามแผงฟินจะเจริญเติบโตขึ้นเลื่อยๆ และสามารถกัดกร่อนทำให้เกิดปัญหาแอร์รั่วได้ ดังนั้น การล้างแอร์ จึงช่วยยืดอายุการใช้งานของแผงคอยล์เย็นไปในตัว และยังช่วยลดกลิ่นอับได้อีกด้วย
โดยปกติแล้ว ความถี่ในการล้างแอร์จะอยู่ที่ 3-6 เดือน/ครั้ง ช่วยประหยัดไฟ และยืดอายุการใช้งานมากขึ้น เพราะการล้างแอร์อย่างสม่ำเสมอ ทำให้แอร์เย็นฉ่ำ อากาศภายในห้องสดชื่น จะทำให้การทำงานของคอมเพรสเซอร์และคอยล์เย็น คอยล์ร้อนมีประสิทธิภาพดี ช่วยประหยัดไฟได้ดียิ่งขึ้น
อีกทั้งยังป้องกันฝุ่น PM 2.5 ในหน้าหนาวมีลมพายุเยอะ ส่งผลให้ ลมหนาวหอบฝุ่นมาถึงตัวเราได้ จึงเป็นโอกาสที่เหมาะสำหรับการเตรียมความพร้อมในการล้างแอร์ในครั้งนี้
สรุป : ประโยชน์หลักๆ ของการล้างแอร์หน้าหนาว
OF Air เราจึงมีช่างผู้เชี่ยวชาญ คอยให้บริการ ล้างแอร์ ถอดแอร์ ติดตั้งแอร์ และโยกย้าย แบบครบวงจร
แอร์น้ำแข็งเกาะ
ปัญหาแอร์จับตัวเป็นน้ำแข็ง แก้ไขอย่างไร
สาเหตุที่ แอร์จับตัวเป็นน้ำแข็ง
1. แอร์ตัน รังผึ้งตัน
มีฝุ่นและสิ่งสกปรก เข้าไปปิดบังการระบายลม ที่รังผึ้งทำความเย็น
2. น้ำยารั่ว น้ำยาซึม ที่คอยล์เย็น
ระบายลม ที่อาจจะมีเสียงน้ำเข็งร่วง ในตัวแอร์
3. Compressor มีกำลังอัดน้อย
เกิดความขัดข้อง หากชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ส่วนใดของแอร์เกิดความขัดข้อง จะทำให้แอร์เป็นน้ำแข็งได้ เช่น แผงกรองอากาศเกิดการอุดตัน หรือแผงคอยล์สกปรก จึงไม่สามารถสร้างความเย็น จนแอร์เป็นน้ำแข็ง หรือเทอร์โมนิเตอร์ไม่ยอมตัด ทำให้คอมเพรสเซอร์แอร์ทำงานตลอดเวลา
4. ใช้งานหนัก
หากมีการใช้งานแอร์หนัก หรือมากเกินไป ขาดการดูแล เช่น ไม่ได้รับการล้างแอร์ ทำความสะอาด หรือการตรวจเช็คในส่วนต่างๆ ก็จะทำให้แอร์เป็นน้ำแข็งได้
5. พัดลมคอยล์เย็นหมุนช้า
พัดลมคอยล์เย็นหมุนช้าลง หรือไม่ยอมหมุน ทำให้ความเย็นไม่ถูกนำออกไป ข้างนอก จึงจับตัวเป็นน้ำแข็ง
ปัญหาที่ตามมาจากแอร์เป็นน้ำแข็ง
1. แอร์เสีย
ถ้าปล่อยให้เกิดอาการน้ำแข็งเกาะนาน โดยไม่แก้ไข จะทำให้ ระบบการทำงานของแอร์เสียหาย รวมไปถึงอุปกรณ์ ชิ้นส่วนต่างๆ เกิดการเสื่อมสภาพ และทำให้แอร์เสียหายในท้ายที่สุด
2. แอร์ไม่เย็น
เป็นเรื่องปกติถ้าเกิดปัญหาน้ำแข็งเกาะ เพราะไปอุดตันแผงคอยล์เย็น หรือแผงรังผึ้งทำให้ แอร์ไม่มีการระบายความเย็น หรือลมเย็นออกมาได้ ทำให้แอร์เย็นช้ากว่าปกติ
3. ค่าไฟเพิ่มขึ้น
4. แอร์น้ำหยด
เมื่อเกิดปัญหาน้ำแอร์เกาะนานๆ ทำให้แอร์อุดตันบนหน้าแผงรังผึ้ง ปัญหาต่อมาคือน้ำแอร์จะเกิดการรั่วซึมและจะหยดออกจากท่อแอร์หรือตัวแผงคอยล์เย็น ที่ลูกค้าส่วนใหญ่พบเจอคือปัญหาน้ำแอร์หยดนั้นเอง
5. แอร์เหม็นอับ
แก้ปัญหา แอร์เหม็นอับเมื่อแอร์อุดตันจากน้ำแข็งเกาะนานๆ รวมไปถึงสิ่งสกปรก ที่เกาะอยู่ตามแผงคอยล์เย็น หรือด้านในกรงกระรอก และไม่มีการทำความสะอาดให้ทั่วถึง ทั้งด้านในและด้านนอก อาจก่อให้เกิดการสะสมของคราบน้ำ สิ่งสกปรก ที่ถูกอัดฉีดจากแรงดันน้ำ กระเด็นเข้าด้านใน ทำให้เกิดการสะสมสิ่งสกปรก ส่งผลให้แอร์มีกลิ่นเหม็นเวลาใช้งาน แอร์เหม็นอับ
เพราะการล้างแอร์ทั่วไป อาจไม่เพียงพอ
การแก้ปัญหาแอร์เป็นน้ำแข็ง
1. ขอคำปรึกษากับช่างผู้เชี่ยวชาญ
ขอคำปรึกษาในส่วนของเรื่องการป้องกัน แอร์น้ำแข็งเกาะ การใช้งานในครั้งต่อๆ ควรระมัดระวังในส่วนไหนมากขึ้น และวิธีปฏิบัติเมื่อเจออาการ น้ำแข็งเกาะ เช่นนี้ สามารถติดต่อฝ่าย Support ของทาง OF Air Service ได้ Line : @OFair หรือโทร 02-933-6200
2. ให้ช่างตรวจสอบอุปกรณ์ภายในทุกจุด เพื่อป้องกันการชำรุด อาจก่อให้เกิดความเสียหายในภายหลัง
2.1 ช่างจะทำการตรวจสอบด้านในแผงรังผึ้ง รวมถึงด้านนอกแผงเพื่อหาจุดรอยรั่ว รอยชำรุด ที่อาจส่งผลให้น้ำยารั่วซึม นำไปสู่ปัญหาแอร์น้ำแข็งเกาะได้
2.2 ช่างตรวจสอบท่อเดินน้ำยาแอร์ว่ามีการขาดหรือรั่วซึมหรือไม่
2.3 ช่างทำการตรวจสอบ Compressor แอร์ด้านนอก ว่ามีจุดที่ชำรุด หรือรอยรั่วที่ Compressor หรือไม่
3. ล้างแอร์ใหญ่ หรือตัดล้าง
นอกจากการล้างแอร์ แบบทั่วไป หรือล้างเล็ก เพื่อให้แอร์เย็น และประหยัดค่าไฟฟ้า ที่ควรจะทำทุก 3-6เดือน แล้ว
เราควรจะ เพื่อสุขภาพอนามัยที่ดี เราควรจะล้างใหญ่ เพื่อจัดการกับ คราบสิ่งสกปรก เชื้อโรค เชื้อรา ที่การล้างทั่วไป เข้าไม่ถึงออกไป แบบเป็นพิเศษบ้าง โดยมีความถี่อยู่ที่
1. ป้องกัน พื้นและเฟอร์นิเจอร์
1.1 ปูพื้น ด้วยผ้าร่มกันน้ำ และผ้าห่มกันรอย จากบันได เพื่อป้องกัน พื้นห้อง จากรอยขีดข่วน
1.2 คลุมแอร์ ด้วยผ้าใบล้างแอร์ เพื่อป้องกัน เฟอร์นิเจอร์ และกำแพง จากสิ่งสกปรก
2. ถอดชุดคอยล์เย็น (ด้านในอาคาร) เพื่อแยกชิ้นส่วน
2.1 เก็บล็อคน้ำยาแอร์
2.2 ถอดชุดคอยล์เย็น(ด้านในอาคาร) แยกออกจากคอยล์ร้อน(ด้านนอกอาคาร)
2.3 แยกชิ้นส่วนแอร์ทั้งหมด ออกจากกัน
3. ทำความสะอาด แผงรังผึ้ง
3.1 ฉีดล้างแผงรังผึ้งด้วยน้ำเปล่า จากทั้งข้างหน้าและข้างหลัง เพื่อเอาสิ่งสกปรกออก
3.2 แช่แผงรังผึ้ง ด้วยน้ำยากัดแผงรังผึ้ง เพื่อกัดเอาสิ่งสกปรกพี่ฝังแน่น ให้หลุดออก แล้วฉีดล้างออก ด้วยน้ำเปล่า
3.3 แช่แผงรังผึ้ง ด้วยน้ำยากัดแผงรังผึ้ง แล้วฉีกน้ำล้างออก อีกครั้งเผื่อความมั่นใจ
4. ทำความสะอาด พัดลมและรางระบายน้ำ
4.1 ฉีดล้าง ทำความสะอาด พัดลมแอร์
4.2 ฉีดล้าง ทำความสะอาด รางระบายทั้งข้างหน้้าและข้างหลัง
4.3 เช็ดถู ให้มั่นใจ ว่าไม่มีสิ่งสกปรกติดอยู่
5. ติดตั้งแอร์กลับเข้าที่เดิม
5.1 ประกอบส่วน คอยเย็นและร้อน เข้าด้วยกันใหม่
5.2 ตรวจเช็ค การทำงานของแอร์ อีกครั้งเผื่อความมั่นใจ
6. เก็บกวาด ให้เรียร้อย
6.1 เก็บกวาด อะไหล่ เศษวัสดุ ฝุ่นผง จากการทำงาน ทั้งภายในอาคาร และนอกอาคาร
6.2 เลื่อน เฟอร์นิเจอร์ ตู้ โต๊ะ กลับเข้าตำแหน่งเดิม เพื่อให้สภาพหน้างาน กลับมาเหมือน ก่อนการทำงาน ทุกประการ
สรุป : ข้อควรระวัง และวิธีการแก้ปัญหาแอร์น้ำแข็งเกาะ
ติดตั้งแอร์ โยกย้ายแอร์
ข้อควรระวังในการ ติดตั้งแอร์ มีอะไรบ้าง ?
- หาตำแหน่งที่เหมาะสมในการติดตั้ง และคำนึงถึงขนาด BTU ของแอร์ให้เหมาะสมกับขนาดของห้อง
- ควรระวังขั้นตอนการขันแพร์ หรือขันน็อทที่เชื่อมต่อระหว่างคอยล์เย็นกับคอยล์ร้อน
- ควรระมัดระวังในการเชื่อมต่อสายไฟทุกจุดของอุปกรณ์ เพื่อป้องกันไฟฟ้าช็อตในตัวแอร์
- ควรระมัดระวังในการเดินท่อทองแดง อย่าให้เกิดการบีบตัวของท่อ หรือรั่วไหล อาจทำให้เกิดปัญหาแอร์ไม่เย็น แอร์รั่วในอานาคตได้
- ควรระมัดระวังในการสวมท่อยางแอร์ ไม่ให้เกิดรอยรั่ว ควรพันท่อยางให้สนิดและแน่นหนา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด น้ำหยด น้ำซึม ตามท่องแอร์
- ควรระมัดระวังจุดที่ติดตั้งคอยล์ร้อน ไม่ให้แคบเกินไป เพราะจะส่งผลให้คอยล์ร้อนระบายความร้อนไม่ได้อย่างที่ควร และทำงานหนักจนเกินไป
วิธีการ ติดตั้งแอร์ มีขั้นตอนอะไรบ้าง ?
- หาตำแหน่งติดตั้งที่เหมาะสม กับขนาดห้อง
เราควรบล็อกน้ำยาแอร์ที่ตัวคอยล์ร้อนก่อน การบล็อกน้ำยาแอร์คือ การปิดระบบน้ำยาแอร์ เพื่อไม่ให้เกิดการรั่วไหลของน้ำยา และเพื่อไม่ให้เกิดการเติมน้ำยาแอร์ซ้ำๆ ในรอบถัดไป
2. จัดเตรียมอุปกรณ์ในการติดตั้งแอร์ ให้ครบถ้วนพร้อมใช้งาน
ปิดการทำงานของเครื่องแอร์ และทำการปิดระบบไฟฟ้าที่เบรกเกอร์ไฟฟ้า เพื่อป้องกันไฟฟ้าดูด และเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน
3. เริ่มขั้นตอนการติดตั้งคอยล์เย็น
3.1 ติดตั้งเพดตัวยึดคอยล์เย็นให้แน่นหนา และให้ได้ระดับที่เหมาะสม ไม่เอียง
3.2 นำตัวคอยล์เย็นประกอบขึ้นสู่ที่ติดตั้ง
3.3 เดินสายไฟระหว่างคอยล์เย็นและคอยล์ร้อน
3.4 เดินท่อทองแดงระหว่างคอยล์เย็นและคอยล์ร้อน
4. ติดตั้งคอย์ลร้อนที่ตำแหน่งที่เหมาะสม ไม่แคบจนเกินไป เพื่อการระบายความร้อนที่ดี
- ถอดฝาครอบตัวเครื่องออก
- ถอดสายไฟที่เชื่อมระหว่างตัวคอยล์เย็นกับคอยล์ร้อนออก
- ขันน็อทที่เชื่อมระหว่างคอยล์เย็นกับคอยล์ร้อนออก
- ยกตัวแอร์คอยล์เย็นออกจากที่ตั้ง
- ถอดที่ยึดตัวแอร์คอยล์เย็นออก
5. ทำการแวคคั่มน้ำยาแอร์
คือ การดูดอาการภายในท่อทองแดงออกให้หมด เพื่อไม่ให้มีความชื่นในตัวท่อ อาจจะส่งผลให้ แอร์ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ไม่เย็นอย่างที่ควร
6. หลังจากแวคคั่มเสร็จสิ้น จากนั้นเริ่มการ ปล่อยนำยาแอร์เข้าระบบ ที่ตัวคอยล์ร้อน
ถอดสายไฟที่ตัวคอยล์ร้อนที่เชื่อมต่อระหว่างคอยล์เย็นออกเพื่อทำการถอดตัวแอร์ระหว่างคอยล์เย็นและคอยล์ร้อน ออกจากกัน
7. เปิดระบบไฟฟ้า เพื่อเปิดเครื่องเทสระบบการทำงานของแอร์
ทำการยกตัวเครื่องคอยล์เย็นลงจากที่ตั้ง เพื่อทำการโยกย้าย ไปที่ตั้งใหม่เป็นอันเสร็จสมบูรณ์
สรุป : ข้อควรระวัง และวิธีการถอดแอร์
ถอดแอร์ โยกย้ายแอร์
ข้อควรระวังในการ ถอดแอร์ มีอะไรบ้าง ?
- คุณจำเป็นต้องตัดระบบไฟฟ้า ปิดเบรกเกอร์
- ถอดฝา Body ออก ควรระวังอุปกรณ์แตกหัก ชำรุด สูญหาย เช่น จำนวนน็อต เกรียวข้อต่อระวังแตกหัก ระวังบานสวิงแตกหัก
- ระวังน้ำในตัวถาดแอร์หยดลงพื้น ทำให้เกิดความชื่นสกปก
- ระวังแผงรังผึ่งบาดมือ ทำให้เกิดอันตรายต่อผ้ใช้ได้
- ระวังในการถอดท้อทองแดงที่เชื่อมระหว่างคอยล์เย็นไปคอยล์ร้อน เกิดการชำรุด เช่น น็อทรูดผิดรูป (แฟร์รูดในภาษาช่าง)
- ขั้นตอนการประกอบอุปกรร์กลับคืนสู่สภาพปกติ ควรระวัง เรื่องน้ำหยด การตั้งระดับของเครื่องอยู่ในระดับมาตรฐานขนานกับพื้น ไม่เอียงซ้ายหรือขวา อาจทำให้เกิดปัญหาน้ำแอร์หยดในอนาคต และอุปกรณ์เสื่อมสภาพ
วิธีการ ถอดแอร์ มีขั้นตอนอะไรบ้าง ?
1. บล็อกน้ำยาที่ตัวคอยล์ร้อน
เราควรบล็อกน้ำยาแอร์ที่ตัวคอยล์ร้อนก่อน การบล็อกน้ำยาแอร์คือ การปิดระบบน้ำยาแอร์ เพื่อไม่ให้เกิดการรั่วไหลของน้ำยา และเพื่อไม่ให้เกิดการเติมน้ำยาแอร์ซ้ำๆ ในรอบถัดไป
2. ปิดแอร์ และทำการปิดระบบไฟฟ้าที่เบรกเกอร์ไฟฟ้า
ปิดการทำงานของเครื่องแอร์ และทำการปิดระบบไฟฟ้าที่เบรกเกอร์ไฟฟ้า เพื่อป้องกันไฟฟ้าดูด และเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน
3. ปูพื้นด้วยผ้า และทำการคลุมผ้าเพื่อป้องกันสิ่งสกปก
4. เริ่มขั้นตอนการ ถอดอุปกรณ์แอร์คอยล์เย็น
- ถอดฝาครอบตัวเครื่องออก
- ถอดสายไฟที่เชื่อมระหว่างตัวคอยล์เย็นกับคอยล์ร้อนออก
- ขันน็อทที่เชื่อมระหว่างคอยล์เย็นกับคอยล์ร้อนออก
- ยกตัวแอร์คอยล์เย็นออกจากที่ตั้ง
- ถอดที่ยึดตัวแอร์คอยล์เย็นออก
5. ขันน็อทที่ทำหน้าที่เชื่อมตัวคอยล์ร้อนกับคอยล์เย็นออก
ขันน็อตที่ทำหน้าที่เชื่อมตัวคอยล์ร้อนกับตัวเครื่องคอยล์เย็นออกจากกัน เพื่อทำการถอดการเชื่อมต่อออกจากัน และง่ายต่อการทำงาน
6. ถอดสายไฟที่ตัวคอยล์ร้อนที่เชื่อมต่อระหว่างคอยล์เย็นออก
ถอดสายไฟที่ตัวคอยล์ร้อนที่เชื่อมต่อระหว่างคอยล์เย็นออกเพื่อทำการถอดตัวแอร์ระหว่างคอยล์เย็นและคอยล์ร้อน ออกจากกัน
7. เคลื่อนย้ายตัวแอร์ ลงจากที่ตั้ง
ทำการยกตัวเครื่องคอยล์เย็นลงจากที่ตั้ง เพื่อทำการโยกย้าย ไปที่ตั้งใหม่เป็นอันเสร็จสมบูรณ์
เสร็จสิ้นขั้นตอนการถอดแอร์ เพื่อนำไปติดตั้งในตำแหน่งใหม่หลังจากนั้น วิธีการติดตั้งแอร์ในตำแหน่งใหม่ คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ติดตั้งแอร์
สรุป : ข้อควรระวัง และวิธีการถอดแอร์
6 ข้อไม่ควรทำ
ในการใช้งานแอร์ปรับอากาศ
6 ข้อไม่ควรทำในการใช้งานแอร์ปรับอากาศ
1. ใช้เครื่องเก่าไม่ยอมเปลี่ยน
2. ยิ่งค่า BTU สูงยิ่งดี
3. ไม่ได้ตรวจสอบตำแหน่งก่อนติดตั้งแอร์
4. เปิดแอร์อุณหภูมิต่ำจะช่วยให้ห้องเย็นเร็วขึ้น
5.อุณหภูมิ 25 องศา ช่วยประหยัดไฟได้มากที่สุด
6. เปิด-ปิดแอร์บ่อยประหยัดไฟมากกว่า
1. ใช้เครื่องเก่าไม่ยอมเปลี่ยน
2. ยิ่งค่า BTU สูงยิ่งดี
นอกจากนี้ผู้ใช้งานบางคนมักจะเข้าใจผิด คิดว่ายิ่งค่า BTU เยอะยิ่งทำให้บ้านเย็น ซึ่งจริง ๆ แล้วหากเลือกเครื่องปรับอากาศที่มีค่า BTU สูงเกินความจำเป็น จะทำให้คอมเพรสเซอร์ตัดบ่อย แต่ถ้าเครื่องปรับอากาศมีค่า BTU ต่ำเกินไป ก็จะทำให้เครื่องทำงานหนักและกินไฟมากขึ้น เพราะฉะนั้นควรเลือกเครื่องปรับอากาศที่มีค่า BTU เหมาะสมกับขนาดห้องของผู้ใช้งานโดยคำนวนจากสูตร
พื้นที่ห้อง (กว้างxยาว) x ค่า Cooling Load Estimation = ค่า BTU ที่เหมาะสม
การประเมินค่า Cooling Load Estimation ที่เหมาะสมกับแต่ละห้อง มีดังต่อไปนี้
- ห้องนอน 700-750 BTU/ตารางเมตร
- ห้องนั่งเล่น 750-850 BTU/ตารางเมตร
- ห้องรับประทานอาหาร 800-950 BTU/ตารางเมตร
- ห้องครัว 900-1000 BTU/ตารางเมตร
- ห้องทำงาน 800-900 BTU/ตารางเมตร
- ห้องประชุม 850-1000 BTU/ตารางเมตร
3. ไม่ได้ตรวจสอบตำแหน่งก่อนติดตั้งแอร์
4. เปิดแอร์อุณหภูมิต่ำจะช่วยให้ห้องเย็นเร็วขึ้น
5. อุณหภูมิ 25 องศา ช่วยประหยัดไฟได้มากที่สุด
6. เปิด-ปิดแอร์บ่อยประหยัดไฟมากกว่า
ใช้งานแอร์อย่างไร
ให้ประหยัดไฟ และถูกต้องที่สุด
ใช้งานแอร์อย่างไรให้ประหยัดที่สุด
ผู้ใช้งานหลายๆท่านคงเคยมีปัญหากลุ้มอกกลุ้มใจ ทุกสิ้นเดือนเวลาได้รับบิลค่าไฟ ซึ่งปัจจัยหลัก ๆ มาจากปัญหา แอร์กินไฟ ที่พยายามประหยัดสุด ๆ แล้วค่าไฟก็ยังแพงเกินรับไหวอยู่ดี ถ้าเป็นแบบนี้มาลองเช็คกันหน่อยดีกว่าครับว่าเราพลาดอะไรไปบ้าง และมีวิธี ใช้งานแอร์แบบประหยัด วิธีไหนบ้างที่ยังไม่ได้ลองทำ
1. ติดตั้งคอมเพรสเซอร์ในที่ร่ม และอากาศถ่ายเท
สำหรับในกรณีที่กำลังจะติดตั้งแอร์ตัวใหม่ หรือรีโนเวทบ้านแล้วต้องการย้ายตำแหน่งการติดตั้งแอร์อยู่แล้วก็แนะนำให้ลองตรวจสอบดูเรื่องของการติดตั้งคอมเพรสเซอร์ว่ามีการติดตั้งในบริเวณที่เหมาะสมหรือไม่ โดยตำแหน่งที่เหมาะสมคือการติดตั้งในพื้นที่ที่เป็นที่ร่ม และอากาศถ่ายเทได้ดี เพราะคอมเพรสเซอร์มีหน้าที่ในการระบายความร้อนโดยตรง จึงไม่ควรติดตั้งในพื้นที่อับ อากาศไม่ค่อยถ่ายเท หรือพื้นที่ที่ได้รับแดดโดยตรง รวมถึงบริเวณดาดฟ้า หรือพื้นปูนที่ต้องตากแดดตากฝนอยู่เป็นประจำด้วยครับ
2. ล้างแอร์อย่างสม่ำเสมอ
บ้านไหนที่ติดตั้งแอร์มาสักระยะแล้ว และได้มีการใช้งานแอร์อย่างต่อเนื่องมาสักพักก็อาจจะสังเกตได้ว่าแอร์ที่ใช้อยู่มีความสามารถในการทำความเย็นลดลง นั่นเพราะเมื่อใช้งานมาสักพักจะมีฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกต่าง ๆ เข้าไปสะสมในตัวแอร์ หากปล่อยให้สะสมไว้นาน ๆ ก็จะไปขัดขวางการทำงานของมอเตอร์แอร์ รวมถึงส่วนต่าง ๆ ถือเป็นอุปสรรคต่อการทำงานของแอร์ที่ทำให้แอร์ต้องทำงานหนักกว่าเดิม ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ แอร์กินไฟ กว่าปกติครับ อีกทั้งหากฝุ่นละอองเข้าไปอุดตันในท่อน้ำแอร์ก็จะทำให้เกิดปัญหาน้ำหยดตามมาอีก
โดยทั่วไปแล้วการล้างแอร์ควรจะทำอย่างสม่ำเสมอทุก ๆ 6 เดือนเป็นอย่างต่ำ แต่หากติดตั้งแอร์ในพื้นที่ที่เป็นปัจจัยให้แอร์ทำงานหนักกว่าปกติอย่างเป็นห้องที่ติดถนน มีฝุ่นควันฟุ้งกระจายเป็นประจำ หรือเป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตก่อสร้างก็อาจจะต้องล้างแอร์ให้ถี่ขึ้น ประมาณทุก 2 – 3 เดือนก็ได้ครับ แต่สำหรับใครที่ยังไม่อยากเสี่ยงให้ช่างแอร์เข้ามาล้างแอร์ในช่วงที่โควิด-19 ยังแพร่ระบาดอยู่ หากมีอุปกรณ์ล้างแอร์ก็สามารถจัดการล้างแอร์ด้วยตัวเองได้ครับ หรืออาจเลือกทำความสะอาดในเบื้องต้นด้วยการล้างแผ่นกรองหยาบที่ติดอยู่หน้าเครื่อง ซึ่งจะช่วยให้แอร์กลับมาทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้ครับ
3. หลีกเลี่ยงการใช้แอร์ในพื้นที่เปิด
พื้นที่เปิดโล่งในบ้านอย่างโถงบันได หรือโถงทางเดินระหว่างห้องต่าง ๆ ที่ไม่มีประตูกั้น ถือเป็นพื้นที่ที่ไม่เหมาะกับการใช้งานแอร์เท่าไรนัก เพราะนอกจากแอร์ที่เปิดจะไม่ค่อยเย็นแล้วยังทำให้แอร์ทำงานหนัก เป็นการเปลืองพลังงาน และเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของปัญหา แอร์กินไฟ ที่มีผลกระทบทำให้ค่าไฟพุ่งสูงขึ้นโดยไม่จำเป็นด้วยครับ ดังนั้น หากจำเป็นต้องใช้งานแอร์ในพื้นที่แบบนี้จริง ๆ ก็อาจต้องลงทุนกับการปรับพื้นที่ให้กลายเป็นพื้นที่ปิดมิดชิดเสียก่อน
โดยการปรับพื้นที่ห้องให้มิดชิดอาจเลือกใช้ฉากกั้นห้อง PVC หรือใช้ผ้าม่านเนื้อหนาที่มีเส้นใยแบบถักทอแน่นมาช่วยปิดกั้นพื้นที่ที่ไม่จำเป็น รวมถึงการปิดม่านบริเวณหน้าต่างในห้องที่ใช้แอร์ด้วยครับ วิธีนี้นอกจากจะช่วยให้แอร์ทำงานหนักน้อยลง ความเย็นไม่ไหลออกนอกพื้นที่แล้ว ยังเป็นการช่วยลดการสะสมความร้อนภายในห้องจากแสงอาทิตย์ได้อีกทางหนึ่งด้วยครับ
4. เปิดประตูหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทก่อนเปิดแอร์
อีกหนึ่งวิธี เปิดแอร์แบบประหยัด ที่เชื่อว่าหลายคนไม่เคยรู้มาก่อน คือ การเปิดประตู หน้าต่าง หรือช่องลมต่าง ๆ ภายในห้องให้อากาศที่อับอยู่ภายในห้องถ่ายเทออกไปด้านนอก และเปิดรับอากาศบริสุทธิ์จากภายนอกให้หมุนเวียนเข้ามาภายในห้องแทน ซึ่งนอกจากวิธีนี้จะช่วยระบายกลิ่นอับต่าง ๆ ให้ออกจากห้องไปแล้วยังช่วยระบายความร้อนที่มีการสะสมอยู่ให้ออกไปด้วย ดังนั้น เมื่อเปิดใช้งานแอร์ก็จะช่วยให้แอร์ทำความเย็นได้เร็วขึ้น และไม่ทำงานหนักจนเกินไปนั่นเองครับ
5. ตั้งอุณหภูมิแอร์ให้สูงกว่า 25 องศาเซลเซียส สักเล็กน้อย
เทคนิค เปิดแอร์แบบประหยัด ที่หลาย ๆ คนเข้าใจผิดกันมานานนั่นคือการเปิดแอร์ที่ 25 องศาเซลเซียส แต่แท้จริงแล้วอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียสถือเป็นระดับอุณหภูมิที่ร่างกายมนุษย์รู้สึกสบายมากที่สุด จนมีการแนะนำกันให้เปิดแอร์ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ดังนั้น หากลองปรับอุณหภูมิให้สูงขึ้นสักหน่อยที่ประมาณ 26 – 28 องศาเซลเซียส แล้วรู้สึกว่ายังสบายตัวอยู่ก็แนะนำให้ใช้งานที่อุณหภูมินั้น ๆ แทนครับ เพราะยิ่งแอร์ถูกตั้งอุณหภูมิสูงเท่าไหร่ก็จะทำให้ แอร์กินไฟ น้อยลงเท่านั้นครับ
6. เปิดพัดลมช่วยไปด้วยขณะเปิดแอร์
หนึ่งในเทคนิคง่าย ๆ ที่จะช่วยให้ แอร์กินไฟ น้อยลง คือ การเปิดพัดลมไปด้วยในขณะที่เปิดแอร์นั่นเองครับ เพราะการเปิดพัดลมก่อนการเปิดแอร์จะช่วยไล่ความร้อนภายในห้องให้หมดไปก่อน ทำให้แอร์ไม่ต้องทำงานหนักมาก และหากเปิดพัดลมไปด้วยในขณะเปิดแอร์จะช่วยให้ความเย็นจากแอร์กระจายไปทั่วถึงทุกมุมห้อง และรู้สึกเย็นสบายกว่าการเปิดใช้แอร์เพียงอย่างเดียวครับ
7. หลีกเลี่ยงการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อนในขณะเปิดแอร์
เนื่องจากแอร์มีหน้าที่ทำความเย็น และรักษาความเย็นภายในห้องให้คงที่ การนำเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อนไปใช้งานในห้องแอร์จึงทำให้แอร์ต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อคงความเย็นไว้ให้มากที่สุด และส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น การรีดผ้าในห้องแอร์ หรือการทำอาหารจากกระทะไฟฟ้า หรือแม้แต่การใช้หม้อต้มน้ำเพื่อชงเครื่องดื่มในห้องแอร์จึงเป็นเรื่องที่ถ้าหลีกเลี่ยงได้ก็ควรทำครับ
8. หลีกเลี่ยงการเพิ่มความชื้นในห้องแอร์
นอกจากความร้อนต่าง ๆ ที่ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้เข้ามาในห้องแอร์แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องหลีกเลี่ยงเช่นเดียวกัน คือ ความชื้นนั่นเองครับ โดยความชื้นที่ว่านี้อาจจะมาจากต้นไม้ภายในห้อง ภาชนะใส่น้ำต่าง ๆ เครื่องทำความชื้น หรือแม้แต่เสื้อผ้าเปียก ๆ ก็ถือเป็นแหล่งที่มาของความชื้นที่ทำให้แอร์ต้องทำงานหนักขึ้น นั่นเพราะตามหลักการทำงานของแอร์จะต้องใช้พลังงาน 30% ในการทำความเย็นตามอุณหภูมิที่ตั้งไว้ และพลังงานอีก 70% ก็ต้องใช้ไปกับการกำจัดความชื้นต่าง ๆ ให้อากาศในห้องแห้งที่สุดครับ ดังนั้น การที่มีแหล่งความชื้นในห้องมาก ๆ จึงส่งผลทำให้ แอร์กินไฟ ได้มากเช่นกัน ใครที่ตกแต่งห้องด้วยต้นไม้ เลี้ยงปลาในห้อง ปิดประตูห้องน้ำไม่สนิท หรือตากผ้าในห้องเป็นประจำ ก็ควรต้องปรับเปลี่ยนพื้นที่เหล่านี้ใหม่ครับ
9. ตั้งเวลาปิดแอร์ล่วงหน้าก่อนเลิกใช้งาน
นอกจากเทคนิค เปิดแอร์ให้ประหยัดไฟ หลากหลายวิธีที่กล่าวมาแล้ว เทคนิคการปิดแอร์ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้เช่นกันครับ โดยเทคนิคง่าย ๆ ก็คือการวางแผนใช้งานแอร์ล่วงหน้า หรือการตั้งเวลาเปิด-ปิดแอร์นั่นเอง เช่น ก่อนตื่นนอน หรือก่อนออกจากห้องก็สามารถตั้งเวลาให้แอร์หยุดการทำงานก่อนเวลาสัก 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเวลาที่มวลความเย็นยังคงกระจายตัวอยู่ภายในห้อง โดยอาจเปิดพัดลมเบา ๆ ช่วยกระจายความเย็นในระหว่างที่ปิดแอร์ไปแล้วแทนครับ
10. เปิดใช้งานแอร์เท่าที่จำเป็น
ไม่ว่าจะใช้เทคนิค เปิดแอร์แบบประหยัด ขนาดไหน หรือดูแลรักษาแอร์ดีแค่ไหน แน่นอนว่าวิธีประหยัดค่าไฟฟ้าให้ได้มากที่สุดก็คือการเลือกเปิดใช้งานแอร์เท่าที่จำเป็น หรือใช้งานแบบพอดี ๆ นั่นเองครับ เพราะหลาย ๆ ครั้ง เหตุผลที่คนเราเปิดแอร์ไม่ได้มาจากความรู้สึกร้อน แต่มาจากความเคยชินที่ต้องเปิดแอร์ตลอดเวลา แม้ว่าอากาศจะไม่ได้ร้อนมากก็ตาม หรือรวมไปถึงการเปิดใช้งานแอร์ภายในบ้านหลาย ๆ ห้องพร้อม ๆ กันด้วยครับ ดังนั้น หากบริหารการใช้งานแอร์ให้ดี ๆ ให้สมาชิกภายในบ้านอยู่รวมกันในห้องเดียวเพื่อเปิดแอร์เครื่องเดียว หรือเลือกเปิดแอร์เฉพาะช่วงเวลากลางวันที่ร้อนจริง ๆ ก็จะช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากเลยครับ
- 1
- 2